วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Inquiry based approach

Inquiry based approach
   ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาทางสติปัญญา  ของ Piaglt และ Vygotsky  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นในบริบท  ที่ผู้เรียนสร้างความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ  โดยจัดให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆกับสิ่งเร้า  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ในการสังเกตการเก็บข้อมูลที่เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบตื่นตัวกับสถานการณ์จริงในชีวิต  ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้  เมื่อได้มีการจัดการให้มีการเชื่อมโยงของข้อมูลความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่  และถ้าข้อมูลใหม่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมจะเกิดความขัดแย้งขึ้นในใจ  และต้องหาทางแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม  เพื่อให้สามารถรับข้อมูลใหม่ได้
   วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้การคิดอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา  และได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ด้วยตนเอง
    องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
        1.การตั้งประเด็นปัญหาที่นำไปสู่กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้
        2.การกำหนดขั้นตอน/วิธีการวนการสืบเสาะหาความรู้
        3.การอภิปรายเพื่อสรุปคำตอบที่ได้จากการสืบเสาะหาความรู้
   ขั้นตอนสำคัญของการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
        1.การสร้างความสนใจ/ ให้เผชิญปัญหา
        2.การสำรวจและค้นหา
        3.การอภิปรายและลงข้อสรุป
        4.การขยายความรู้
        5.การประเมินผล
   ข้อเสนอแนะในการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
        1.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการจัดสถานการณ์   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเกิดความสงสัยอยากหาคำตอบ
        2.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการตั้งคำถามและตอบคำตอบที่ช่วยนำทางให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ค้นพบด้วยตนเอง
        3.ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการบอกความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
   ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
ข้อดี
        1.ผู้เรียนโอกาสพัฒนาความคิดความคิดอย่างเต็มที่
        2.การได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและใฝ่รู้ตลอดเวลา
        3.ผู้เรียนได้ฝึกการคิดและลงมือกระทำ  ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
        4.ผู้เรียนมีความรู้ที่คงทน  เพราะได้ถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ค้นคว้าด้วยตนเอง  ทำให้จดจำเนื้อหาที่ค้นพบได้อย่างแม่นยำ  และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น  ทำให้เรียนรู้โนมติอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
        5.ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
ข้อจำกัด
        1.ใช้เวลามากในการสอนแต่ละครั้ง
        2.ถ้าสถานการณ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นไม่ชวนสงสัย  หรือไม่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย   และไม่อยากเรียนด้วยวีธีนี้
        3.ถ้าผู้เรียนสอนไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง  หรือควบคุมพฤติกรรมในห้องเรียนมากเกินไป  จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
        4.ในกรณีที่ผู้เรียนมีระดับสติปัญญาต่ำ  หรือได้รับแรงกระตุ้นไม่มากพอจะไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบนี้ได้
        5.ในกรณีที่ผู้เรียนเป็นเด็กเล็ก  อาจขาดแรงจูงใจที่จะศึกษาปัญหาและขาดประสบการณ์ที่จะรู้สึกสนุกกับความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้
        6.การเรียนในห้องเรียนปกติอาจมีข้อจำกัดของการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการสืบเสาะหาความรู้

Use of a problem solving methodology
   การใช้วิธีการแก้ปัญหา คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ตามที่กลุ่มของผู้เรียนจะสามารถกระทำได้ ซึ่งวิธีที่นำมาใช้แก้ปัญหาต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และความสามารถของผู้เรียนด้วย

   กิจกรรมฐาน QR พาเพลินก็นำ Inquiry based approach มาใช้ในการหาคำตอบเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดของคำถามที่ได้จากการสแกน QR CODE ซึ่งผู้เรียนต้องสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ตามที่กลุ่มได้แบ่งหน้าที่ในการทำงาน รวมถึงการใช้วิธีการแก้ปัญหา คือ ในตอนแรกสมาชิกทุกคนจะไปพร้อมกันที่ QR CODE ทีละอัน ทำให้ได้คำตอบช้า เมื่อมีการกำหนดเวลาในการทำกิจกรรม ผู้เรียนก็เริ่มวางแผนว่าต้องกระจายกันไปหาคำถามแล้วนำมารวมกันแล้วร่วมกันหาคำตอบ วิธีการนี้ก็ทำให้กลุ่มได้คำถามและคำตอบได้รวดเร็วขึ้น และสามารถทำได้ครบทุกข้อตามระยะเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างคำถาม

ภาพขณะผู้เรียนกำลังทำกิจกรรม

VDO บรรยากาศการทำกิจกรรม

อ้างอิงข้อมูล : http://dutchanee.blogspot.com/2014/05/inquiry-based-learning-constructivism.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น