วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Technology Integration

Technology Integration

   ในการจัดกิจกรรมQR พาเพลิน มีการใช้เทคโนโลยเข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรม คือ เราจะนำคำถามไปสร้างเป็นรูปภาพ แล้วนำมาทำเป็น QR CODE ให้ผู้เรียนได้สแกนเพื่อตอบคำถามที่อยู่ด้านในลงในกระดาษคำตอบที่กำหนดให้ และในตอนท้ายหลังจากจัดกิจกรรมทั้งหมด ทางกลุ่มก็ได้จัดทำแบบประเมินในรูปแบบGOOGLE FORM แล้วทำเป็น QR CODE เพื่อให้สะดวกและลดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์กระดาษลงได้
   กิจกรรม QR พาเพลิน
ผู้เรียนกำลังสแกนQR CODE คำถาม

สแกน QR CODE ตามสถานที่ต่างๆ

ตัวอย่าง QR CODE คำถาม

รูปภาพตัวอย่างคำถาม

QR CODE แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม


VDO กิจกรรม QR CODE พาเพลิน

Outdoor Learning
     การเรียนรู้นอกห้องเรียน (Hammerman,1994 : p.5) คือ การใช้สถานที่นอกห้องเรียน เป็นห้องปฏิบัติการ สำหรับการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะให้ประสบการณ์ตรงและสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกต สำรวจสภาพแวดล้อมนอกห้องเรียน ผู้เรียนได้มีโอกาสในการสำรวจสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้ง ไม่ต้องถูกจำกัดด้วยเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสถานการณ์จริงของชีวิต ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายตามวัตถุประสงค์ที่ผู้สอนกำหนด
     การเรียนรู้นอกห้องเรียนมีความสำคัญต่อการเรียนวิชาต่างๆหลายวิชา โดยเฉพาะวิชาที่มีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและการประยุกต์ใช้ในสภาพความเป็นจริงที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน
     ในการจัดกิจกรรมQR พาเพลิน ก็เป็นการศึกษาพืชพันธุ์ไม้ในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาทิ ชมพูพันธุ์ทิพย์ สัตตบรรณ อบเชย นนทรี เป็นต้น
ตัวอย่างภาพคำถาม

ผู้เรียนสแกนQR CODE คำถามเกี่ยวกับต้นไม้ชนิดนั้นๆ

Hand-On Learning
     Hand-On Learning การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำงานต่างๆ ได้แก่ การสร้างรูปจำลอง การทำการทดลอง และการเรียนจากวัตถุต่างๆที่จับต้องได้ เช่น สมุดภาพ หรือ บัตรคำ   หรือการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวในสถานการณ์การเรียนนั้น เช่น การแสดงบทบาทสมมติ  การแสดงละคร  และการสัมภาษณ์  รวมถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง  (experiential learning)  ด้วย โดยกิจกรรมสร้างเสาก็เป็นกิจกรรม Hand-On Learning ที่กำหนดให้ผู้เรียนสร้างแบบจำลองเสาที่สูงที่สุด โดยผู้เรียนต้องเป็นผู้ออกแบบและสร้างด้วยตัวของผู้เรียนเอง
ผู้เรียนกำลังสร้างเสาที่สูงที่สุดจากกระดาษที่กำหนดให้


VDO การสร้างเสา โดยใช้ Hand-On Learning

Formative Assessment &Transparent assessment
     การวัดประเมินผลเพื่อสะท้อนให้ผู้เรียนทราบว่าตนเองมีการพัฒนาไปในทิศทางใดหรือตนเองควรพัฒนาในด้านใดบ้าง โดยกิจกรรมที่นำมาใช้คือกิจกรรมการสร้างเสา โดยผู้เรียนต้องนำความรู้ทั้งหมดที่ตนเองมีมาระดมความคิดกับเพื่อนในกลุ่มที่คิดหาวิธีสร้างเสาที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
ผลงานที่สร้างเสร็จสมบูรณ์

อ้างอิงข้อมูล : http://e-book.ram.edu/e-book/s/SE742/chapter9.pdf
http://www.scimath.org/article-mathematics/item/619-learning-style

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น