วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal KU_Kaphaeng Saen Based Learning Content KPS

KU_Kaphaeng Saen Based Learning Content KPS
   ในการจัดกิจกรรมจะใช้บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
   สวนสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ มีบรรยากาศร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ใจกลางสวนและมีต้นไม้นานาชนิดรายล้อม มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหลากหลายชนิด เช่น เครื่องปั่นจักรยาน เครื่องบริหารร่างกายชนิดต่างๆ สนามเด็กเล่น และฐานผจญภัย
ประวัติ
ฯพณฯนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ฯ จัดสร้างขึ้นภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมอบให้กรมธนารักษ์ประสานงานกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจังหวัดนครปฐม เพื่อจัดสร้างสวนสาธารณะดังกล่าวขึ้นบนพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๑ ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น ๙,๘๕๐,๐๐๐ บาท และให้ใช้ชื่อว่า “สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”


เว็บไซต์แนะนำสถานที่ https://shell133801266.wordpress.com/

ต้นนนทรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) Back. ex Heyne
ชื่อเรียกอื่น : กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน
ชื่อวงศ์ :CAESALPINIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่ม ใบ เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้น ติดเรียงเวียนสลับแน่น ตามปลายกิ่ง ใบย่อยโคนใบสอบและเบี้ยว ปลายใบทู่หรือหยักเข้าเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบสีจาง ขอบใบเรียบ ดอก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อ ตั้งชี้ขึ้น ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 20-30 ซม. กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยทับกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ผิวกลีบย่น เกสรผู้มี 10 อัน รังไข่ รูปรีมีขนปกคลุม ผล เป็นฝักแบน เกลี้ยง ขนาด 2.5-10 ซม. ทั้งโคนและปลายฝักเรียวแหลม ฝักอ่อน สีเขียวพอแก่จัดออกสีน้ำตาลแดง ภายในมีเมล็ดแบน เรียงตัวตามยาวของฝักจำนวน 1-4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ : นนทรี พบขึ้นตามป่าชายหาด แลป่าเบญจพรรณชื้น ๆ ทั่วไป ที่สูงจากน้ำทะเล 10-300 เมตร
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน เป็นมันเลื่อม เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องตกแต่งบ้าน หีบใส่ของ ไถ พานท้ายปืนและรางปืน สรรพคุณทางด้านสมุนไพร เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับโลหิต และใช้เป็นยาขับลม
   นนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังคำกราบบังคมทูลของหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี  จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปได้ดังนี้ “ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนนาน มีใบเขียวตลอดปี ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนใบกระถิน ดอกสีเหลืองประด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานต่อทุกสภาพอากาศเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คัดเลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่านิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งใน ไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย
   นนทรีเป็นไม้ต้นที่มีใบขนาดเล็ก เวลาใบร่วงจะไม่ทำให้รกพื้นที่เหมือนต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ เช่น หูกวาง ประดู่ หรือชมพูพันธุ์ทิพย์ ส่วนมากใบจะถูกลมพัดให้ปลิวไปตกในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโคนต้นจะใกล้ไกลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลม  แต่นนทรีเป็นไม้ที่มีกิ่งเปราะหักได้ง่ายไม่ทนทานต่อแรงลม ดังนั้นไม่ควรปลูกไว้ใกล้ชิดอาคารบ้านเรือนหรือบริเวณลานจอดรถยนต์ เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากกิ่งที่หักโค่นได้ง่าย  เพื่อป้องกันอันตรายจากกิ่งก้านควรตัดแต่งกิ่งหรือทรงพุ่มปีละ  1  ครั้ง  เพื่อลดขนาดและน้ำหนักของกิ่ง
อ้างอิงข้อมูล : http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=814
http://botanykuszone1.weebly.com/36093609360736193637.html

ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่อที่เรียก : ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่ออื่น ๆ : ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู 
ชื่อสามัญ : Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea (Bertol.) DC. 
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง สูงราว 8-12 เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง
ต้นกำเนิด  ของชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อน
ทวีปต่าง ๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
   ประโยชน์ : ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
   ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร

อ้างอิงข้อมูล : https://botany942.weebly.com/360536573609359436173614364136143633360936073636361436183660.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น