วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal รวมกิจกรรม

 Interpersonal
     การจัดกิจกรรมในส่วนของความเข้าใจผู้อื่นจะแบ่งกิจกรรมออกเป็นฐาน จำนวน 6 ฐาน ได้แก่
     ฐานที่ 1 ฐาน QR พาเพลิน
     ฐานที่ 2 ฐาน วางระเบิด
     ฐานที่ 3 ฐาน จิ๊กซอว์ใบ้คำ
     ฐานที่ 4 ฐาน อารมณ์ไหนใครรู้บ้าง
     ฐานที่ 5 ฐาน สร้างหอคอย
     ฐานที่ 6 ฐาน ความในใจ
VDO รวมกิจกรรมต่างๆ ของ Interpersonal

ขอขอบคุณผู้เรียนที่เสียสละเวลา
                              1. นางสาวสุธารัตน์     มีจันทร์
                              2. นางสาวศุภิสรา     อินปลา
                              3. นางสาวอโรชา     สลุงใหญ่
                              4. นางสาวสุชานันท์     บุญยงค์
                              5. นายอดิศร     นิลรัศมี
                              6. นางสาวดารินทร์     งามสันเทียะ
                              7. นางสาวณัฐกาญจน์     ชูเมฆ
                              8. นางสาวจันทกานต์     บวรสุนทร
                              9. นางสาวสุวพิชชา     ดีสมสกุล
นิสิตสาขาคณิตศาสตร์ศึกษา
คณะศึกษาศาสตรืและพัฒนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal กิจกรรมฐาน

Interpersonal
   การจัดกิจกรรมในส่วนของความเข้าใจผู้อื่นจะแบ่งกิจกรรมออกเป็นฐาน จำนวน 6 ฐาน ได้แก่
ฐานที่ 1 ฐาน QR พาเพลิน
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงฝึกการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
     2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนในการทำงาน
     3. เพื่อให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน และหมู่คณะ
อุปกรณ์
     1. QR CODE คำถาม จำนวน 40 คำถาม
     2. กระดาษคำตอบ
     https://drive.google.com/open?id=1VDj3UDnftpyixeLGtFnSodF_29ppdhKB
วิธีการเล่น
     1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ให้แต่กลุ่มช่วยกันสแกนQR CODE คำถามที่ติดไว้ตามสถานที่ต่างๆในบริเวณสวนสุขภาพ
     2. อ่านคำถามที่ได้รับจากการสแกนQR CODE และค้นหาคำตอบให้ถูกต้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
     3. เขียนคำตอบที่หาได้ลงในกระดาษคำตอบให้ตรงกับข้อของคำถามจนกว่าจะครบตามเวลาที่กำหนด
     4. ทีมไหนที่ได้คำตอบที่ถูกมากที่สุด จะเป็นทีมที่ชนะ
VDO อธิบายวิธีจัดกิจกรรมฐาน QR พาเพลิน

ฐานที่ 2 ฐาน วางระเบิด
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
     2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการวางแผนในการทำงาน
     3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักกระบวนการทำงานเป็นทีม ไว้ใจซึ่งกันและกันในหมู่คณะ
อุปกรณ์
     1. ยางรถ จำนวน 16 วง
     2. แผนผังตำแหน่งระเบิด
     3. ธงสีประจำกลุ่ม

วิธีการเล่น
     1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน นำธงสีของตนเองไปวางตามยางรถโดยให้แต่ละทีมไปทีละคน
     2. หากวางธงในตำแหน่งของระเบิด จะต้องเสียธงให้กับอีกทีม
     3. ทีมไหนที่สามารถกู้ระเบิดได้จนถึงทางออก ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ
VDO อธิบายวิธีการเล่นฐานวางระเบิด

ฐานที่ 3 ฐาน จิ๊กซอว์ใบ้คำ
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวร่างกายที่ได้ออกไปทำภารกิจ
     2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการเชื่อมโยงความรู้จากความรู้เดิมมาปรับใช้
     3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการเสียสละเพื่อให้กลุ่มบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
อุปกรณ์
     1. จิ๊กซอว์สถานที่ต่างๆในมหาวิทยาลัย

วิธีการเล่น
     1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน
     2. ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่ม ไปทำภารกิจตามจุดต่างๆที่กำหนดไว้เพื่อให้ได้ชิ้นส่วนของจิ๊กซอว์มา
     3. นำจิ๊กซอว์ของแต่ละคนในกลุ่มมาต่อเป็นภาพให้สมบูรณ์
     4. ทีมไหนที่สามารถต่อภาพได้เสร็จสมบูรณ์และสามารถตอบได้ว่าสถานที่ในภาพเป็นสถานที่ใดได้ก่อน กลุ่มนั้นจะเป็นกลุ่มที่ชนะ
VDO อธิบายวิธีการเล่นฐานจิ๊กซอว์ใบ้คำ

ฐานที่ 4 ฐาน อารมณ์ไหนใครรู้บ้าง
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนวิเคราะห์อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น
     2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการปรับตัวเข้ากับอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้อื่น
     3. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม มีการวางแผน เกิดกระบวนการทำงานกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์
     1. แผ่นป้ายบอกอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ

วิธีการเล่น
     1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน ให้ตัวแทนกลุ่มละ 1 คน ออกมาเป็นคนทายก่อน โดยให้สมาชิกคนถัดไปเป็นคนใบ้อารมณ์
     2. สลับกันใบ้และทายอารมณ์ ความรู้สึกไปเรื่อยๆจนครบตามกำหนดเวลา
     3. กลุ่มไหนที่สามารถทายอารมณ์ได้ถูกต้องมากที่สุด กลุ่มนั้นจะเป็นกลุ่มที่ชนะ

VDO อธิบายวิธีการเล่นฐานอารมณ์ใครรู้บ้าง

ฐานที่ 5 ฐาน สร้างหอคอย
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างหอคอยให้สูงที่สุด
     2. เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเป็นผู้ที่กล้าแสดงออก
     3. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
อุปกรณ์
     1. กระดาษปรู๊ฟ กลุ่มละ 3 แผ่น
     2. เทปใส กลุ่มละ 1 ม้วน

วิธีการเล่น
     1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน และให้อุปกรณ์ในการสร้างเป็นกระดาษปรู๊ฟ กลุ่มละ 3 แผ่น เทปใส กลุ่มละ 1 ม้วน
     2. ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบหอคอยให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้และแข็งแรงทนทานสามารถตั้งอยู่โดยไม่ล้ม
     3. กลุ่มไหนที่สามารถสร้างหอคอยได้สูงและแข็งแรงที่สุด กลุ่มนั้นจะเป็นกลุ่มที่ชนะ

VDO อธิบายวิธีการเล่นฐานสร้างหอคอย

ฐานที่ 6 ฐาน ความในใจ
วัตถุประสงค์
     1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น
     2. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกการยอบรับความคิดเห็นจากผู้อื่นที่มองตัวเราว่าเป็นอย่างไร
วิธีการเล่น
     1. ให้ผู้เรียนทั้งหมดยืนล้อมเป็นวงกลม
     2. ให้ผู้เรียนที่อยู่ตรงข้ามกันพูดความในใจที่มีต่ออีกฝ่ายที่ได้ร่วมกิจกรรมร่วมกันมา
     3. ให้กล่าววนไปทางขวามือของคนแรกจนครบ แล้วผู้ดำเนินกิจกรรมก็สรุปกิจกรรม

VDO อธิบายฐานความในใจ

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal KU_Kaphaeng Saen Based Learning Content KPS

KU_Kaphaeng Saen Based Learning Content KPS
   ในการจัดกิจกรรมจะใช้บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
   สวนสุขภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ มีบรรยากาศร่มรื่น มีสระน้ำขนาดใหญ่ใจกลางสวนและมีต้นไม้นานาชนิดรายล้อม มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหลากหลายชนิด เช่น เครื่องปั่นจักรยาน เครื่องบริหารร่างกายชนิดต่างๆ สนามเด็กเล่น และฐานผจญภัย
ประวัติ
ฯพณฯนายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานเปิดสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ บริเวณสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ฯ จัดสร้างขึ้นภายใต้ความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยมอบให้กรมธนารักษ์ประสานงานกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และจังหวัดนครปฐม เพื่อจัดสร้างสวนสาธารณะดังกล่าวขึ้นบนพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๓๑ ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น ๙,๘๕๐,๐๐๐ บาท และให้ใช้ชื่อว่า “สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”


เว็บไซต์แนะนำสถานที่ https://shell133801266.wordpress.com/

ต้นนนทรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peltophorum pterocarpum (DC.) Back. ex Heyne
ชื่อเรียกอื่น : กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน
ชื่อวงศ์ :CAESALPINIACEAE
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่ม ใบ เป็นช่อแบบขนนก 2 ชั้น ติดเรียงเวียนสลับแน่น ตามปลายกิ่ง ใบย่อยโคนใบสอบและเบี้ยว ปลายใบทู่หรือหยักเข้าเล็กน้อย หลังใบสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบสีจาง ขอบใบเรียบ ดอก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อ ตั้งชี้ขึ้น ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 20-30 ซม. กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยทับกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ผิวกลีบย่น เกสรผู้มี 10 อัน รังไข่ รูปรีมีขนปกคลุม ผล เป็นฝักแบน เกลี้ยง ขนาด 2.5-10 ซม. ทั้งโคนและปลายฝักเรียวแหลม ฝักอ่อน สีเขียวพอแก่จัดออกสีน้ำตาลแดง ภายในมีเมล็ดแบน เรียงตัวตามยาวของฝักจำนวน 1-4 เมล็ด
การกระจายพันธุ์ : นนทรี พบขึ้นตามป่าชายหาด แลป่าเบญจพรรณชื้น ๆ ทั่วไป ที่สูงจากน้ำทะเล 10-300 เมตร
ประโยชน์ : เนื้อไม้ สีชมพูอ่อน เป็นมันเลื่อม เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งง่าย ใช้ทำกระดานปูพื้น เพดาน ฝา เครื่องตกแต่งบ้าน หีบใส่ของ ไถ พานท้ายปืนและรางปืน สรรพคุณทางด้านสมุนไพร เปลือก มีรสฝาด รับประทานเป็นยาขับโลหิต และใช้เป็นยาขับลม
   นนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังคำกราบบังคมทูลของหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี  จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปได้ดังนี้ “ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนนาน มีใบเขียวตลอดปี ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนใบกระถิน ดอกสีเหลืองประด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานต่อทุกสภาพอากาศเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คัดเลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่านิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งใน ไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย
   นนทรีเป็นไม้ต้นที่มีใบขนาดเล็ก เวลาใบร่วงจะไม่ทำให้รกพื้นที่เหมือนต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ เช่น หูกวาง ประดู่ หรือชมพูพันธุ์ทิพย์ ส่วนมากใบจะถูกลมพัดให้ปลิวไปตกในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโคนต้นจะใกล้ไกลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลม  แต่นนทรีเป็นไม้ที่มีกิ่งเปราะหักได้ง่ายไม่ทนทานต่อแรงลม ดังนั้นไม่ควรปลูกไว้ใกล้ชิดอาคารบ้านเรือนหรือบริเวณลานจอดรถยนต์ เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากกิ่งที่หักโค่นได้ง่าย  เพื่อป้องกันอันตรายจากกิ่งก้านควรตัดแต่งกิ่งหรือทรงพุ่มปีละ  1  ครั้ง  เพื่อลดขนาดและน้ำหนักของกิ่ง
อ้างอิงข้อมูล : http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=814
http://botanykuszone1.weebly.com/36093609360736193637.html

ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่อที่เรียก : ชมพูพันธุ์ทิพย์
ชื่ออื่น ๆ : ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู 
ชื่อสามัญ : Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabebuia rosea (Bertol.) DC. 
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับทองอุไรและศรีตรัง สูงราว 8-12 เมตร ใบเป็นแบบผสม มีใบย่อย 5 ใบ แผ่ออกคล้ายใบปาล์ม ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 12 เซนติเมตร กิ่งก้านสาขาแผ่ออกเป็นพุ่มค่อนข้างแน่น เรือนยอดรูปไข่หรือทรงกลมแผ่กว้างเป็นชั้น ๆ เปลือกต้นเรียบ สีเทาหรือสีน้ำตาล ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะแตกเป็นร่อง
ต้นกำเนิด  ของชมพูพันธุ์ทิพย์ อยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ ต่อมาได้ถูกนำไปปลูกในเขตร้อน
ทวีปต่าง ๆ อย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทย
   ประโยชน์ : ชมพูพันธุ์ทิพย์เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนทานต่อดินฟ้าอากาศทนน้ำท่วมขัง และโรคแมลง โตเร็ว มีดอกดกสวยงาม จึงนิยมนำไปปลูกเป็นไม้ประดับ และให้ร่มเงาในบริเวณสถานที่ราชการ สวนสาธารณะ และตามถนนหนทาง แต่กิ่งเปราะไม่เหมาะปลูกใกล้สนามเด็กเล่น ดอกร่วงมาก ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย ตำให้ละเอียดใส่แผล ลำต้น ใช้ทำฟืน และเยื่อใช้ทำกระดาษได้
   ชมพูพันธุ์ทิพย์ ทิ้งใบในฤดูหนาว ช่วงเดือพฤศจิกายน-มกราคม จะเห็นดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ร่วงหล่นกระจายอยู่รอบ ๆ ต้น งดงามพอ ๆ กับที่บานอยู่บนต้น หลังจากนั้นจะออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งก้าน ช่อละ 5-8 ดอก ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกผักบุ้งหรือปากแตร คือโคนดอกเป็นหลอดยาวปลายดอกบานออกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกบาง ย่นเป็นจีบ ๆ และร่วงหล่นง่าย ดอกย่อยแต่ละดอกกว้างราว 8 เซนติเมตร ยาวราว 15 เซนติเมตร

อ้างอิงข้อมูล : https://botany942.weebly.com/360536573609359436173614364136143633360936073636361436183660.html

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Justification for answers

Justification for answers
   การให้สิทธิ์เท่าเทียมกันในการให้เหตุผล คือ ทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกทางความคิดเห็นว่ากิจกรรมเป็นอย่างไร มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้างในแต่ละกิจกรรม โดยผู้สอนต้องไม่มีอคติต่อผู้เรียน และผู้เรียนมีสิทธิแล้วก็ต้องใช้สิทธิไปในทางที่ดี ไม่แสดงเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยในแต่ละกิจกรรมก็จะให้ผู้เรียนได้แสดงเหตุผลของตนออกมา ทั้งในเรื่องการเดินในกิจกรรมวางระเบิด ว่าจะเดินไปในทิศทางใด เพราะเหตุใด
ภาพกิจกรรมฐานวางระเบิด

กิจกรรมสร้างเสา ผู้เรียนต้องแสดงความคิดและเหตุผลประกอบความคิดว่าทำไมถึงทำมาในรูปแบบนั้น ใช้แนวคิดอย่างไรมาช่วยในการตัดสินเลือกรูปแบบนั้นในการดำเนินงาน


บรรยากาศการแสดงความคิดเห็นในการออกแบบเสาที่สูงที่สุด

Writing for reflection
   การเสนอข้อมูลย้อนกลับว่ากิจกรรมจัดออกมาเป็นอย่างไร หรือข้อมูลที่ว่าผู้เรียนมีพัฒนาการหลังจากได้รับการเรียนรู้เกี่ยวกับความเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างไรบ้าง การเขียน หรือกล่าวในทำนอง feed back เพื่อให้ผู้สอนได้นำข้อมูลไปปรับปรุงในการจัดกิจกรรมต่างๆให้ดีขึ้นกว่าเดิท เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและถาวร โดยหลังจากจัดกิจกรรมความเข้าใจผู้อื่นเรา ทางคณะผู้สอนก็ได้มีการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า กิจกรรมที่จัดออกมาในสายตาผู้เรียนเป็นอย่างไร และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากขึ้นเพียงใด


feed back การทำกิจกรรม

กิจกรรมความในใจก็เป็นการสะท้อนว่าการทำงานกับผู้อื่นเป็นอย่างไรบ้าง มีปฏิสัมพันธืกันไปในทางที่ดี ช่วยเหลือกัน และสุดท้ายคือผู้เรียนสามารถเข้าใจความรู้สึก ความคิดของผู้อื่นและสามารถเตรียมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆจากคนรอบข้างได้ดี
ผู้เรียนผลัดกันพูดความรู้สึก



กิจกรรมความใจในหลังจากทำกิจกรรมร่วมกันมา

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Inquiry based approach

Inquiry based approach
   ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาทางสติปัญญา  ของ Piaglt และ Vygotsky  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงการเรียนรู้ว่าเกิดขึ้นในบริบท  ที่ผู้เรียนสร้างความรู้ในขณะที่ได้รับประสบการณ์ในสถานการณ์ต่างๆ  โดยจัดให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆกับสิ่งเร้า  โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ในการสังเกตการเก็บข้อมูลที่เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแบบตื่นตัวกับสถานการณ์จริงในชีวิต  ผู้เรียนจะเกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้  เมื่อได้มีการจัดการให้มีการเชื่อมโยงของข้อมูลความรู้ใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่  และถ้าข้อมูลใหม่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความรู้เดิมจะเกิดความขัดแย้งขึ้นในใจ  และต้องหาทางแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสติปัญญาเดิม  เพื่อให้สามารถรับข้อมูลใหม่ได้
   วัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้ใช้การคิดอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของการแก้ปัญหา  และได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกิดเป็นความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ด้วยตนเอง
    องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
        1.การตั้งประเด็นปัญหาที่นำไปสู่กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้
        2.การกำหนดขั้นตอน/วิธีการวนการสืบเสาะหาความรู้
        3.การอภิปรายเพื่อสรุปคำตอบที่ได้จากการสืบเสาะหาความรู้
   ขั้นตอนสำคัญของการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้  ประกอบด้วย
        1.การสร้างความสนใจ/ ให้เผชิญปัญหา
        2.การสำรวจและค้นหา
        3.การอภิปรายและลงข้อสรุป
        4.การขยายความรู้
        5.การประเมินผล
   ข้อเสนอแนะในการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้  มีดังนี้
        1.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการจัดสถานการณ์   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและเกิดความสงสัยอยากหาคำตอบ
        2.ผู้สอนต้องฝึกฝนตนเองในการตั้งคำถามและตอบคำตอบที่ช่วยนำทางให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ค้นพบด้วยตนเอง
        3.ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการบอกความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
   ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
ข้อดี
        1.ผู้เรียนโอกาสพัฒนาความคิดความคิดอย่างเต็มที่
        2.การได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจและใฝ่รู้ตลอดเวลา
        3.ผู้เรียนได้ฝึกการคิดและลงมือกระทำ  ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
        4.ผู้เรียนมีความรู้ที่คงทน  เพราะได้ถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ค้นคว้าด้วยตนเอง  ทำให้จดจำเนื้อหาที่ค้นพบได้อย่างแม่นยำ  และสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น  ทำให้เรียนรู้โนมติอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
        5.ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
ข้อจำกัด
        1.ใช้เวลามากในการสอนแต่ละครั้ง
        2.ถ้าสถานการณ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นไม่ชวนสงสัย  หรือไม่น่าสนใจจะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย   และไม่อยากเรียนด้วยวีธีนี้
        3.ถ้าผู้เรียนสอนไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง  หรือควบคุมพฤติกรรมในห้องเรียนมากเกินไป  จะทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสสืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง
        4.ในกรณีที่ผู้เรียนมีระดับสติปัญญาต่ำ  หรือได้รับแรงกระตุ้นไม่มากพอจะไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบนี้ได้
        5.ในกรณีที่ผู้เรียนเป็นเด็กเล็ก  อาจขาดแรงจูงใจที่จะศึกษาปัญหาและขาดประสบการณ์ที่จะรู้สึกสนุกกับความสำเร็จในการสืบเสาะหาความรู้
        6.การเรียนในห้องเรียนปกติอาจมีข้อจำกัดของการใช้แหล่งข้อมูลต่างๆที่จำเป็นในการสืบเสาะหาความรู้

Use of a problem solving methodology
   การใช้วิธีการแก้ปัญหา คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาวิธีในการแก้ปัญหาตามสถานการณ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด ตามที่กลุ่มของผู้เรียนจะสามารถกระทำได้ ซึ่งวิธีที่นำมาใช้แก้ปัญหาต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ และความสามารถของผู้เรียนด้วย

   กิจกรรมฐาน QR พาเพลินก็นำ Inquiry based approach มาใช้ในการหาคำตอบเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดของคำถามที่ได้จากการสแกน QR CODE ซึ่งผู้เรียนต้องสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง ตามที่กลุ่มได้แบ่งหน้าที่ในการทำงาน รวมถึงการใช้วิธีการแก้ปัญหา คือ ในตอนแรกสมาชิกทุกคนจะไปพร้อมกันที่ QR CODE ทีละอัน ทำให้ได้คำตอบช้า เมื่อมีการกำหนดเวลาในการทำกิจกรรม ผู้เรียนก็เริ่มวางแผนว่าต้องกระจายกันไปหาคำถามแล้วนำมารวมกันแล้วร่วมกันหาคำตอบ วิธีการนี้ก็ทำให้กลุ่มได้คำถามและคำตอบได้รวดเร็วขึ้น และสามารถทำได้ครบทุกข้อตามระยะเวลาที่กำหนด
ตัวอย่างคำถาม

ภาพขณะผู้เรียนกำลังทำกิจกรรม

VDO บรรยากาศการทำกิจกรรม

อ้างอิงข้อมูล : http://dutchanee.blogspot.com/2014/05/inquiry-based-learning-constructivism.html

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Movement Learning

Movement Learning
   การเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ตื่นตัวต่อการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่แค่การเคลื่อนไหวร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามที่ครูผู้สอนได้กำหนดไว้ ซึ่งในการจัดกิจกรรมวางระเบิด ผู้เรียนก็ได้มีการนำ Movement Learning มาใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อดูว่าผู้เรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม มีความไว้วางใจในกลุ่ม และมีปฏิสัมพันธ์ไปในทางที่ดี มีความเข้าใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
VDO กิจกรรมฐานวางระเบิด

   กิจกรรมจิ๊กซอว์ใบ้คำ ก็เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เคลื่อนไหวร่างกาย ออกไปทำกิจกรรมเพื่อให้ได้จิ๊กซอว์แล้วนำมาต่อรวมกันในกลุ่ม
ผู้เรียนนำจิ๊กซอว์ที่ได้รับมาต่อกันเป็นภาพที่สมบูรณ์

VDO กิจกรรมจิ๊กซอว์ใบ้คำ ผู้เรียนในแต่กลุ่มออกไปทำกิจกรรม

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

กิจกรรม Learning Activity Management เรื่อง Interpersonal Collaborative environment

Collaborative environment
   เป็นสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม ได้รับรู้ ได้คิด ได้เข้าใจ ได้ใช้เหตุผล ได้ตัดสินใจ ได้วางแผน ได้สร้างสรรค์ และเกิดจินตนาการ ทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมกันกับสมาชิกทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งที่เป็นแบบเผชิญหน้ากันของสมาชิก และทั้งที่เป็นแบบออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการทำกิจกรรมร่วมกัน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ร่วมกัน
   ซึ่งจากการจัดกิจกรรมฐานวางระเบิด ก็เป็นการสร้างสถานการณ์ที่ให้สมาชิกในกลุ่มได้ทำงานร่วมกัน เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด มีการวางแผนในการเล่นเกมว่าควรเดินอย่างไรไม่ให้โดนระเบิด
ภาพกิจกรรมฐานวางระเบิด

VDO กิจกรรมฐานวางระเบิด

Opportunities for creative expression
   โอกาสในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทุกคนในกลุ่มมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเสนอความคิดของตนเองในการสร้างสรรค์ผลงาน หรือชิ้นงานที่ถูกออกแบบมา ในกิจกรรมสร้างเสาก็มีการใช้ Opportunities for creative expression มามีส่วนร่วมในกิจกรรม คือการให้ทุกคนระดมความคิดของตนแล้วสรุปรวบยอดมาเป็นความคิดของกลุ่มที่ใช้ในการออกแบบเสา โดยเรากำหนดอุปกรณ์และสถานการณ์ โดยมีสถานการณ์เป็นการสร้างเสาที่สูงที่สุดเท่าที่ทำได้จากอุปกรณ์ที่กำหนด โดยเสาที่สร้างต้องมีความแข็งแรงไม่ให้ล้มง่ายๆด้วย
ภาพกิจกรรมฐานสร้างเสาที่ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์ผลงาน

อ้างอิงข้อมูลhttp://wiwatmee.blogspot.com/2013/09/21.html